“นาตาแฮก” ความเชื่อสู่ประเพณีปลูกข้าวของชาวบ้าน

ประเพณีปลูกข้าวของชาวบ้าน

ความเชื่อและความศรัทธาในเรื่อง ‘‘ผีตาแฮก’’ ประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการปลูกข้าวของชาวบ้าน สะท้อนให้เห็นการเคารพบูชาผืนดิน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร หยกจะมาเล่าให้ฟังค่ะ

ผีตาแฮก คือ ผีนาที่มีอยู่ในความเชื่อของชาวอีสานค่ะ เป็นผีที่เฝ้าประจำอยู่ที่นาตาแฮก เพื่อคอยคุ้มกันที่นาและช่วยดลบันดาลให้ผลผลิตในนามีความอุดมสมบูรณ์

ชาวอีสานกลุ่มวัฒนธรรมลาว มีการปักแฮกต้นข้าวในนาตาแฮกเป็นอันดับแรกก่อนที่จะลงมือดำนาปกติค่ะ เพราะเชื่อกันว่า การปักแฮกในเวลาที่เหมาะสม จะนำความสมบูรณ์ของธัญญาหารมาสู่ครอบครัว และการทำนาในปีนั้นๆ จะได้ผลผลิตที่ดีค่ะ ดังนั้น นเจ้าขอนาจึงหาเวลา แฮกดี ก่อนลงมือทำนา

พิธีกรรมปักแฮกต้นข้าว เข้าของนามักเลือกเอาวันที่เรียกว่า วันฟู ค่ะ ชาวอีสานถือว่า วันฟู เป็นวันแห่งโชคลาภ นำมาซึ่งความรุ่งเรืองในชีวิตค่ะ ชาวนามีการเตรีมต้นกล้าประมาณ 1 กำมือ เพื่อนำไปปักแฮกที่นาตาแฮก ขณะทำการปักแฮกเจ้าของนาจะกล่าคำสวดเป็นภาษาลาวค่ะ

เมื่อปักดำนาตาแฮกแล้ว ต้นข้าวในนาตาแฮกงอกงาม ฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ชาวนาจะนำบ้านไม้ไผ่ที่ทำขึ้น และไก่ต้มพร้อมทั้งดอกไม้ ธูปเทียน เป็นเครื่องสังเวยนาตาแฮก ซึ่งเชื่อกันว่ามีผีตาแฮกเฝ้าอยู่

ส่วนบ้านไม้ไผ่นั้น ทำโดยการนำไม้ไผ่มาสานเป็นบ้านขนาดเล็ก มีเสาทำด้วยไม้หนึ่งเสา สำหรับปักลงข้างๆ นาตาแฮกค่ะ ที่ปลายเสามีห่วงไม้ไผ่คล้องกัน 7 ห่วง เมื่อปักบ้านให้กับผีตาแฮกแล้ว ก็นำไก่ต้มมาสังเวย เจ้าของนาจะคอยจนกว่าจะถึงเวลาที่คาดว่าผีตาแฮกกินเครื่องเซ่นเสร็จแล้ว ก็นำคางไก่ต้มที่เป็นเครื่องเซ่นมาแกะดูขากรรไกรทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการทำนายเกี่ยวกับฝนในปีนั้นๆนั่นเอง #Influencerเล่าเรื่อง #หยกเล่าเรื่อง