ประเพณีสืบชะตาของชาวล้านนา

ประเพณีการสืบชะตาของชาวล้านนา เป็นพิธีกรรมที่ชาวพื้นเมืองล้านนาให้ความสำคัญค่ะ ซึ่งเป็นพิธีที่แฝงด้วยวิธีคิด และปรัชญาทางพุทธศาสนา โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นมงคล แสดงถึงการส่งสิ่งชั่วร้ายออกจากร่างกาย ออกจากชุมชน ออกจากบ้านเมือง และยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนที่มาเข้าร่วมพิธี

ประเภทของการสืบชะตา สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1.การสืบชะตาเมือง เช่น รัฐ ประเทศ จึงทำพิธีบวงสรวงเทพยดาผู้ที่ปกปักรักษาเมืองนี้ค่ะ และเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อเทพทั้งปวง และบรรพบุรุษที่ปกป้องผืนแผ่นดินนี้ไว้ เพื่อให้ประเทศร่มเย็นเป็นสุข
2.การสืบชะตาบ้านหรือหมู่บ้าน คือการทำให้ชุมชนหรือหมู่บ้านนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้า และเป็น สิริมงคลต่อคนที่อาศัยในชุมชนนั้น มักจะจัดปีละ 1 ครั้งค่ะ ส่วนมากจะเป็นวันก่อนวันเข้าพรรษา หรือวันปากปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
3.การสืบชะตาบุคคล คือให้บุคคลนั้น อยู่เย็นเป็นสุข พ้นจากโรคภัย พ้นจากอันตรายต่าง ๆ

ส่วนบายศรีที่ใช้ในพิธีสืบชะตา ก็คือบายศรีนมแมวค่ะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเสริมขวัญและกำลังใจ การงอกงามเจริญเติบโต โดยทางล้านนามักประกอบพิธีนี้พร้อมกับการฮ้องขวัญหรือบายศรีสู่ขวัญนั่นเอง

อย่างไรก็ดีนะคะ การประกอบพิธีในการสืบชะตาล้วนสื่อความหมายไปถึงคติความเชื่อของคนล้านนาค่ะ และชาวบ้านที่ได้มารวมตัวกันก็ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันค่ะ #หยกเล่าเรื่อง #Influencerเล่าเรื่อง